Thursday, September 4, 2008

เยือนรัสเซีย สอนกรรมฐาน หลังม่านเหล็ก Visit Russia 2003

การเยื่อนประเทศรัสเซียในครั้งนี้นับเป็นความมุ่งหวังตั้งใจมานานของข้าพเจ้า ตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เรื่อง"เจ้าฟ้าไทย กับ รักต่างแดน" เป็นเรื่องราวของพระองค์เจ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ที่พระราชบิดาคือรัชกาลที่ ๕ ได้ส่งท่านมาศึกษาต่อทางวิชาทหาร และถวายตัวให้อยู่ในความดูแลในราชสำนักของพระเจ้าซาร์ นิโคลาสที่ ๒ ซึ่งเป็นพระสหายของพระองค์เอง พระองค์ได้ดูแลเสมือนราชบุตรบุญธรรม และกามเทพก็แผลงศรรักปักอกเจ้าชายหนุ่ม(ไทย)ให้พบรักสาวรัสเซีย ซึ่งต่อมาก็ได้ทรงเสกสมรสตามเสด็จไปพำนักอยู่ในประเทศไทย...
ในหนังสือ มีทั้งรัก ทั้งหวาน และระทมขมขื่น ความเศร้าโศก และบรรยายถึงบรรยากาศของเมืองเซนต์ปีเตอร์เบอร์เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว มีความสวยงาม น่าประทับใจอย่างไร อยากทราบรายละเอียดให้หาอ่านเอง
ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการโฆษณาหนังสือแต่อย่างใด
...แต่ต้องการที่จะสื่อให้เข้าใจถึงเจตนาในการเยือนประเทศรัสเซียของข้าพเจ้า เป็นความตั้งใจอันเกิดเป็นแรงบันดาลใจอยากมาเยือนหลังจากอ่านหนังสือเล่มนั้น
อีกอย่าง เป็นเพราะธรรมจัดสรรให้ได้พบหนุ่มชาวรัสเซียผู้ออกแสวงหาความลุดพ้นทางใจ ได้เดินทางมายังประเทศอินเดียเพื่อศึกษาวิชาโยคะศาสตร์เก่าแก่ของอินเดีย และได้พบกับข้าพเจ้าในดินแดนพุทธภูมิ แดนตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

Dimitry เป็นชาวรัสเซียได้พบกับข้าพเจ้าที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในปริมณฑลพุทธคยา ได้ถามถึงหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาเถรวาทที่เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะต้องการจะฝึกวิปัสสนากรรมฐาน หลังจากที่คุยกันได้ไม่นาน ทำให้เขาได้รับคำตอบที่เขามีคำถามอยู่ในใจอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามแนวมหาสติปัฎฐานสูตร
ข้าพเจ้าได้แนะนำให้เขาไปศีกษาในแนวปฏิบัติแบบพม่า ซึ่งเขาได้เดินทางท่องเที่ยวไปศึกษาตามสำนักต่าง ๆ ในประเทศพม่า เป็นเวลา ๑ เดือน ทำให้เขารับประสบการ์จากของจริง และได้ลงมือปฏิบัติด้วตนเอง

หลังจากกลับจากพม่าเขาได้เดินทางไปพบข้าพเจ้าที่ประเทศไทย และได้นำไปสำนักปฏิบัติต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในภาคอีสาน คือ วัดหนองป่าพง ของหลวงพ่อชา และวัดป่านานาชาติ ที่มีพระฝรั่งและชาวต่างชาติปฏิบัติอยู่ในสายหลวงพ่อชา ที่อุบลฯ

และสำนักอื่น ๆ อีกเช่นที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ ซึ่งเหมือนกันกับที่เขาเคยฝึกที่ประเทศพม่า และสำนักต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร หนองคาย และที่ขอนแก่น
สรุปคือเขาพอใจแนวการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทอย่างมาก และเขาได้เพิ่มพุนความรู้ด้านวิปัสสนา ผนวกกับวิชาโยคะที่เขาทุ่มเทศึกษาเล่าเรียนฝึกฝนมา นานกว่า ๖ ปี ก่อนที่จะมาฝึกที่อินเดียอีกเป็นเวลา ๗ เดือนก่อนที่จะออกท่องไปในแดนพุทธภูมิ

เมื่อเขากลับไปยังเยื่ยมแม่ของเขาที่เมืองเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก ได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งชื่อ Alexander ที่มอสโคว์ เป็นลุกศิษย์ของพระอาจารย์พม่าเช่นกัน Alex เป็นนักธุรกิจค้าน้ำมัน มีฐานะดี ร่ำรวยอยู่ในระดับแนวหน้าของสังคมรัสเซียหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากคอมมิวนิสต์ เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
เขาได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์ที่พม่าอย่างน้อยปีละครั้ง และเคยไปประเทศไทยหลายครั้ง

เมื่อเขาทราบว่าจะมีพระอาจารย์สอนวิปัสสนาที่รัสเซีย เขาดีใจมาก และติดต่อกับ Dimitry ให้นิมนต์ข้าพเจ้าไปพักที่บ้านและสอนพนักงานในบริษัทของเขาเป็นเวลา ๓ วันที่มอสโคว์ และหลังจากนั้นได้ไปเยี่ยมบ้านเกิดของ Dimitry ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก และได้ไปเยี่ยมสำนักวัดต่าง ๆ ในพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน(ทิเบต)ด้วย

ข้าพเจ้าได้ท่องเที่ยวไปในดินแดนของรัสเซียถึง ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อเดือน กันยายน ปี ค.ศ. ๒๐๐๓ และครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. ๒๐๐๔ ทุกครั้งจะมีความประทับใจต่างกัน แต่จุดประสงค์หลักเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสนธยาในอดีต ซึ่งเมื่อก่อนอาจจะคิดว่าเป็นแดนอันตราย และน่าสะพึงกลัวพอเอ่ยถึงเจ้าลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ เลนิน และสตาร์ลิน ก็ไม่กล้าที่จะไปเยือนดินแดนส่วนนั้น
แต่ภายหลังจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ล่มสลายเมื่อปี ๑๙๙๒ เป็นต้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนไปทำให้ประเทศรัสเซียกลับฟื้นคืนชีพมาเป็นดินแดนศิวิไลซ์ และประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น อีกครั้งหนึ่ง เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก เปิดธุรกิจต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลกโดยเฉพาะสถานที่สำคัญ ๆ เช่น พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ โบสถ์คริสต์ที่เก่าแก่ อนุสรณ์สถานต่างๆ ตึกรามบ้านช่องล้วนแต่น่าดูน่าชมทั้งนั้น
จึงขอนำท่านได้ชื่นชมภาพแห่งความประทับใจนี้ เพียงเพื่อเป็นตัวอย่าง ..รายละเอียดติดตามอ่านในหนังสือ "พุทธศาสนาหลังม่านเหล็ก" โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี เร็ว ๆ นี้

ยอดโดมสีทองอร่ามของโบสถ์คริสต์นิกายรัสเซียนออร์ธอร์ดอกซ์

หน้าประตูป้อมปราการเก่าแก่ในเกาะกลางแม่น้ำเนวา


โบสถ์เก่าแก่ก่อด้วยอิฐสลับลวดลายเอกลักษณ์ของโบสถ์คริสต์ รัสเซีย


ประติมากรรมของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช

ผู้สถาปนาเมืองนี้เป็นเมืองหลวงเมื่อ ๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว

โรงละครแห่งเมืองเซนต์ปีเตอร์เบอร์ก

แม่น้ำเนวา คือสายเลือดของชาวเมือง

สัญญลักษณ์เสากระโดงเรือริมฝั่งแม่น้ำเนวา

ผู้เขียนกับความภูมใจที่ได้มาเยือน

No comments: